บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชา ง23102 การงานอาชีพ 6
เรื่อง การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
เรื่อง การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
ธุรกิจแต่ละรูปแบบ และแต่ละประเภทนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ไม่มีแบบใดที่มีลักษณะชัดเจนว่าดีที่สุด ผู้ประกอบการต้องวิเคราะห์จุดประสงค์ของการเปิดกิจการ แนวทางของธุรกิจที่จะเติบโตในอนาคต เช่น ถ้าผู้ประกอบการต้องการอำนาจในการตัดสินใจสูง มีทรัพยากรไม่มาก ต้องการความคล่องตัวก็ควรจัดตั้งแบบเจ้าของคนเดียวจึงจะเหมาะสม ถ้าต้องการความน่าเชื่อถือ ต้องการหาแหล่งเงินทุน ก็ควรจะเปิดในรูปแบบบริษัทซึ่ง ถึงแม้จะมีขั้นตอนและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มาก แต่ด้วยศักยภาพที่สามารถรองรับการขยายตัวก็มีความเหมาะสมมากกว่า และเลือกว่าจะเลือกประเภทธุรกิจแบบใดจึงจะเหมาะสม
1.บอกประเภทของธุรกิจขนาดย่อมได้ (K)
2.อธิบายรูปแบบธุรกิจขนาดย่อมได้ (K)
3.บอกตัวอย่างธุรกิจขนาดย่อมที่ประสบความสำเร็จได้ (K)
รูปแบบธุรกิจขนาดย่อม
การประกอบธุรกิจการค้าอาจดําเนินการได้หลายรูปแบบ ทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการ หรืออาจดําเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้ การที่จะตัดสินใจเลือกดําเนินธุรกิจการค้า ในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการต้องคํานึงถึงองค์ประกอบที่สําคัญหลายประการด้วยกัน รูปแบบธุรกิจในปัจจุบันแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1.ประเภทบุคคลธรรมดา 2.ประเภทนิติบุคคล
1.ประเภทบุคคลธรรมดา
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole-proprietorship) กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นผู้ลงทุนและเจ้าของกิจการ เมื่อกิจการมีผลกําไรหรือ ขาดทุน เจ้าของกิจการจะปฺนผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน (Ordinary Partnership) ห้างหุ้นส่วนสามัญจะมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงทําการค้าร่วมกันเพื่อแสวงหากําไร และมุ่งหวังที่จะแบ่งผลกําไรจากการดําเนินกิจการนั้น
3.คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หมายถึง บุคคลตั้งแต่ 2 ขึ้นไป ตกลงกันเพื่อกระทํากิจการ ร่วมกัน มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันผลกําไรที่ได้จากกิจการที่ทํานั้น
2.ประเภทนิติบุคคล
1.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (Juristic Ordinary Partnership)
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนมีสภาพเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมาย หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินของกิจการโดยไม่จํากัดจํานวน
2.ห้างหุ้นส่วนจํากัด (Limited partnership)
หุ้นส่วนประเภทที่จํากัดความผิดชอบ (Limited Partner) มีคนเดียวหรือหลายคน ก็ได้ รับผิดชอบไม่เกินจํานวนเงินที่ตกลงจะนํามา แต่ไม่มีอํานาจจัดการห้างหุ้นส่วน
หุ้นส่วนประเภทไม่จํากัดความรับผิดชอบ (General Partner) เป็นหุ้นส่วนที่ รับผิดชอบในหนี้สินของห้างฯ โดย ไม่จํากัดจํานวน
3.บริษัทจํากัด (Company Limited or Limited Company) บริษัทจํากัดเป็นกิจการที่มีผู้ร่วมก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จัดตั้งเป็นนิติบุคคล มีการแบ่งทุนออกเป็นหุ้นมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน ผู้ถือหุ้นทุกคนจะรับผิดชอบจํากัดเพียงไม่เกินจํานวนเงิน ที่ตนยังชําระไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือเท่านั้น และผู้บริหารนั้นไม่จําเป็นต้องเป็นผู้ถือหุ้นก็ได้
ด้านการบริหารงาน นิติบุคคล บุคคลธรรมดา
1.การทําบัญชี ต้องจัดทําบัญชีตามมาตรฐานบัญชี ต้องจัดทํารายงานเงินสดรับจ่าย
2.ความน่าเชื่อถือ มีมากกว่า > มีน้อยกว่า
3.ความรับผิดในหนี้สิน มีความเสี่ยงน้อยกว่า < มีความเสี่ยงมากกว่า
ด้านภาษี นิติบุคคล บุคคลธรรมดา
1.การหักค่าใช้จ่าย มีหลักฐานการหักรายจ่าย หักในอัตราเหมาและ
จากการทําธุรกิจที่ พิสูจน์ได้ หักตามความจําเป็น
2.การเสียภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
จากข้อมูลการเปรียบเทียบ อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กับ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สรุปได้ว่าหากธุรกิจที่เราทำนั้นยังเล็กๆอยู่ก็ควรที่จำทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา เพราะมีอัตราภาษีที่ต่ำ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมทางด้านบัญชีอีกด้วย แต่หากธุรกิจของคุณเริ่มใหญ่มากๆขึ้น การดำเนินธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลอาจมีความคุ้มค่าในเชิงภาษีมากกว่า
1. ธุรกิจเครื่องดื่ม เช่น เครื่องดื่มสุขภาพ เครื่องดื่มเสริมความงาม นํ้าผลไม้ ฯลฯ ตลอดจน เครื่องดื่มที่สร้างความแปลกใหม่ให้กับผู้บริโภค
2. ธุรกิจด้านความงาม เช่น ธุรกิจสปา ธุรกิจเสริมความงาม ขัดผิว นวดตัว ทําผม ฯลฯ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นหญิงสาวที่มีความรักสวยรักงาม
3. ธุรกิจอาหาร เนื่องจากอาหารเป็นปัจจัย 4 ของการดํารงชีวิต การขายอาหารจึงเป็น ทางเลือกที่ง่ายที่สุดสําหรับคนคิดเริ่มทําธุรกิจ
4. ร้านกาแฟ เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่นิยมของคนวัยทํางาน
5. ธุรกิจขายโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์มือถือ ในปัจจุบันเป็นยุคที่มีการติดต่อสื่อสาร เป็นเรื่องสําคัญ จึงเป็นธุรกิจ ที่น่าสนใจมาก
6. ธุรกิจค้าส่ง คือ ธุรกิจที่มีหน้าที่สั่งสินค้าจากโรงงานต่าง ๆ มาเก็บไว้ เพื่อรอการสั่งซื้อจาก ลูกค้ารายย่อย
7. ธุรกิจออนไลน์ประเภทต่างๆ