บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชา ง23102 การงานอาชีพ 6
เรื่อง การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
เรื่อง การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
ผู้ประกอบการคือผู้ที่คิดริเริ่มจัดตั้งธุรกิจขึ้นมาเป็นของตนเอง มีการวางแผนการดำเนินงาน และดำเนินธุรกิจทุกด้านด้วยตนเอง โดยมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ และยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อมุ่งหวังผลกำไรที่เกิดจากผลการดำเนินงานของธุรกิจตนเอง
ดังนั้นจึงต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของผู้ประกอบการ คุณลักษณะพื้นฐานของผู้ประกอบการ แนวทางในการเป็นผู้ประกอบการ การวิเคราะห์การผู้ประกอบการ แนวทางการหารายได้จากการเป็นผู้ประกอบการ และหน้าที่ของผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ
1.อธิบายความหมาย และคุณลักษณะของผู้ประกอบการได้ (k)
2.บอกแนวคิดในการดำเนินธุรกิจขนาดย่อมของผู้ประกอบการได้ (K)
3.ใช้ทักษะในการเป็นผู้ประกอบการได้ (P)
ผู้ประกอบการ(Entrepreneur) หมายถึงผู้ที่คิดริเริ่มจัดตั้งธุรกิจขึ้นมาเป็นของตนเอง มีการวางแผนการดําเนินงาน และดําเนินธุรกิจทุกด้านด้วยตนเอง โดยมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ และยอมรับ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
*****ผู้ประกอบการในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง บุคคลที่สามารถนําปัจจัยการผลิตต่าง ๆ มาดําเนิน การผลิตสินค่าหรือบริการให้มีประสิทธิภาพที่สุด โดยอาศัยหลักการบริหารที่ดี*****
1. ที่ดิน (Land) ได้แก่ ที่ดินรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ พืช หรือสัตว์ ตามธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ของที่ดิน ปริมาณนํ้าฝนและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติต่าง ๆ ซึ่ง มนุษย์ สร้างขึ้นมาเองไม่ได้ แต่ปรับปรุงคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติได้
2. แรงงาน (Labor) ได้แก่ สติปัญญา ความรู้ ความคิด แรงกายแรงใจที่ทุ่มเทให้แก่ การผลิตสินค้าและบริการ ผลตอบแทนแรงงานเรียกว่าค่าจ้างและเงินเดือน
3. ทุน (Capital) คือ เครื่องจักร เครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ร่วมกับปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ในการผลิตสินค้าและบริการ
พื้นฐานของผู้ประกอบการในการดําเนินธุรกิจขนาดย่อมผู้ประกอบการธุรกิจต่องมีพื้นฐานความรู้ ดังนี้
1. เน้นการใช้นวัตกรรม (Innovation) เป็นการนําเอาแนวความคิดใหม่ หรือการนําประโยชน์ จากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทําให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) เป็นการเปลี่ยนแนวทางหรือวิธีการใหม่ ในการผลิตสินค้าหรือบริการในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ บริการใหม่ ๆ หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่เดิมให้มีคุณภาพมากขึ้น
2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) เป็นการคิดประดิษฐ์ค้นสิ่งใหม่ ๆ เกิดนวัตกรรม ที่สร้างความสะดวกสบายและความเจริญเพื่อให้ดีขึ้น
3. เน้นการพัฒนาทักษะความชํานาญ (Skill Based) เป็นการมุ่งเน้นประสิทธิภาพของ ผู้ประกอบการ ในการพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และความชํานาญในเรื่องหนึ่ง เรื่องใด
4. มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ (High Potential) เพื่อตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ และมีอัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ดี (High Growth Industry)
แนวคิดในการดําเนินธุรกิจเพื่อให้เป้าหมายไปสู่ผู้บริโภค
1) ยึดมั่นหลักการความต้องการผู้บริโภค (Consumer Command)
2) ศึกษากลุ่มสินค้าในตลาดที่มียอดจําหน่ายไม่มากและมีคู่แข่งขันน้อย
3) คัดเลือกและพัฒนาสินค้าที่ให้โอกาสกับผู้บริโภค
4) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าตามเงื่อนไข
5) การใช้ความรู้ทางวิชาการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างต่อเนื่อง