บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชา ง23102 การงานอาชีพ 6
เรื่อง การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
เรื่อง การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
การเริ่มต้นธุรกิจเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาต่อยอด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน การเริ่มต้นธุรกิจอย่างมีทิศทาง จะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมีระบบ และมีการวางแผนบริหารจัดการธุรกิจที่ดีนอกจากนั้นการเริ่มต้นธุรกิจที่ดีนั้น
ผู้ประกอบต้องมีแนวคิดในการเริ่มต้นธุรกิจขนาดย่อม มีการประเมินสถานะตนเอง พร้อมการสร้างและค้นหาแนวคิดในการเริ่มต้นธุรกิจ ก็จะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจที่ดีต่อไป
1.บอกแนวคิดในการเริ่มต้นธุรกิจขนาดย่อมได้ (K)
2.ประเมินสถานะตนเองได้ (P)
3.สร้างและค้นหาแนวคิดในการเริ่มต้นธุรกิจได้ (P)
การสร้างธุรกิจต้องเริ่มต้นจากความคิดที่ต้องการประกอบธุรกิจ ต้องการจะประสบความสําเร็จ ในชีวิต มีความคิดสร้างสรรค์และมุ่งมั่นแสวงหาโอกาส
1. สํารวจพื้นฐานในการดําเนินชีวิตของประชากรในพื้นที่ โดยพิจารณาว่าในแต่ละวันที่พบเห็นนั้นกลุ่มประชาชนในพื้นที่มักจะซื้อสินค้าหรือบริการชนิดใด เพื่อตอบสนองความต้องการของ ตนเองและอีกหลายคน
2. สิ่งที่ตนเองรักและมีความชอบ การเลือกประเภทธุรกิจที่เหมาะสมกับตนเองโดยพิจารณา จากความชอบ ความถนัด ความสนใจของตนเองเป็นหลัก รวมถึงบุคลิก ลักษณะนิสัยของตนเอง
3. พัฒนาจากธุรกิจเดิมนํามาปรับใหม่หรือเป็นนวัตกรรมใหม่ สามารถนํานวัตกรรมมาสร้าง โอกาสและช่องทางใหม่ ๆ ที่แตกต่างออกไป
4. ซื้อธุรกิจเดิม หรือมองหาธุรกิจแฟรนไชส์ ลดความเสี่ยงการเริ่มต้นโดยลําพัง
4.1 ซื้อธุรกิจเดิม ต้องประเมินเหตุผลที่เจ้าของเดิมไม่ทํา ต้องยอมรับสภาพปัญหาที่จะเกิดขึ้น โดยมีวิธีและความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาอย่างมั่นใจ
4.2 ธุรกิจแฟรนไชส์ มีบริษัทผู้ขายแฟรนไชส์วางระบบการบริหารจัดการ จัดหาสินค้า/บริการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของตลาดแล้ว เป็นการลงทุนทางอ้อม
5. การทําธุรกิจออนไลน์ การทําธุรกิจผ่านทางออนไลน์ เป็นการเริ่มต้นธุรกิจที่ตัดค่าใช้จ่าย การเปิดหน้าร้าน/การบริหารจัดการ สามารถขยายตลาดในวงกว้าง และเริ่มต้นได้ทันที เป็นที่นิยมของ ลูกค้า อีกทั้งยังให้บริการได้ 7 วัน (24 ชั่วโมง)
DBD Verified เป็นเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ออกให้แก่ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จดทะเบียนและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนด
1) เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified 3 ระดับ คือ Silver, Gold และ Platinum จําแนกตามประเภทหรือลักษณะของเว็บไซต์ ประกอบด้วย การซื้อขายระหว่างธุรกิจกับผาบริโภค (B2C) , การซื้อขายระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) , ผู้ให้บริการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce Solution Providers)
2) การออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified 3 ระดับ คือระดับ Silver ระดับดี, Gold ระดับดีมาก และ Platinum ระดับดีเด่น
******วิธีการขอเครื่องหมาย DBD Verified: ผ่านระบบขอเครื่องหมายออนไลน์****** www.Trustmarkthai.com
กระบวนการออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified ผู้ประกอบการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด และต้องผ่าน กระบวนการประเมิน ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนด 3 ขั้นตอน คือ
1) ประเมินตนเอง คือ ธุรกิจประเมินตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพที่กรมฯ กําหนด
2) ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ คือ เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจคุณสมบัติและประเมินการจัดทํา เว็บไซต์ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพฯ
3) ประเมินโดยคณะกรรมการ คือ คณะกรรมการตรวจพิจารณาผลการประเมินตามเกณฑ์และ การปฏิบัติตามกฎหมาย
กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งมีภารกิจหลักสําคัญในการให้บริการจดทะเบียน พาณิชย์ หรือทะเบียนนิติบุคคล ได้ดําเนินการให้บริการจดทะเบียนธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องให้มีคุณภาพ ทั้งการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน รวมถึงนําเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาให้บริการ
1. ธุรกิจเจ้าของคนเดียว ธุรกิจเจ้าของคนเดียวเป็นการลงทุนคนเดียว จัดตั้งธุรกิจง่าย กําไร-ขาดทุน รับผิดชอบคนเดียว คิด ตัดสินใจคนเดียว ทําให้รวดเร็ว แต่อาจขาดความรอบคอบ สถานะทางกฎหมาย เรียกว่า บุคคลธรรมดา
2. ธุรกิจที่มีการลงทุนร่วมกัน ห้างหุ้นส่วน เป็นการลงทุนของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงร่วมกันทําธุรกิจ เพื่อแบ่ง ผลตอบแทนตามสัดส่วนการลงทุน
ห้างหุ้นส่วนสามัญ หุ้นส่วนทุกคนที่ลงทุน และเป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดชอบในหนี้สินไม่จํากัดจํานวน
ห้างหุ้นส่วนจํากัด จดทะเบียน และมีสถานะเป็นนิติบุคคล โดยจําแนกความรับผิดชอบ ในหนี้สินของผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ 1.ไม่เกินจํานวนเงินที่ได้ลงทุนไป และ 2.ประเภทที่ไม่จํากัดจํานวน
3.บริษัทจํากัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ให้ความหมายไว้ดังนี้ “อันว่าบริษัทจํากัดนั้น คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน ผู้ถือหุ้นต่าง รับผิดจํากัดเพียงไม่เกินจํานวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ”
บริษัทจํากัด หรือเรียกว่า บริษัทเอกชนจํากัด (Private Corporations) หมายถึง กิจการ ที่ตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค้าเท่าๆ กัน โดยมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
บริษัทมหาชนจํากัด (Public Corporations) หมายถึง บริษัทที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน พ.ศ.2535 ซึ่งจัดตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน
4.แฟรนไชส์ (Franchise) หมายถึง กระบวนการทางธุรกิจที่องค์กรธุรกิจหนึ่งๆ ได้พัฒนาวิธีการ และรูปแบบจนได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสําเร็จในการประกอบการและการจัดการธุรกิจ และ ได้ถ่ายทอดสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจตามวิธีการและรูปแบบดังกล่าว
1) ผู้ประกอบการจัดเตรียมเอกสาร กรอกข้อมูล และให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลงลายมือชื่อ
2) ยื่นคําขอต่อนายทะเบียน
3) นายทะเบียนพิจารณาคําขอ หากเห็นว่าถูกต้อง ครบถ้วน ให้ชําระค่าธรรมเนียมต่อนายทะเบียน
4) นายทะเบียนออกใบสําคัญ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้มีการพัฒนาข้อมูลนิติบุคคล งบการเงินให้เป็นคลังข้อมูลธุรกิจที่สมบูรณ์ ตลอดจนสามารถนําข้อมูลไปใช้ ประโยชน์เพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ ได้แก่
1.ข้อมูลทางทะเบียนนิติบุคคล
2.ข้อมูลงบการเงินและอัตราส่วนทางการเงิน
3.ข้อมูลการลงทุนของชาวต่างชาติ
4.ค้นหาคู่ค้าทางธุรกิจ
5.ค้นหาโอกาสทางธุรกิจ
6.การจัดอันดับธุรกิจ
1. หลักนิติธรรม ผู้บริหารองค์กรธุรกิจจะต้องมีการกําหนดข้อบังคับให้เป็นไป ตามกฎหมาย เพื่อให้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้องครบถ้วน
2. หลักคุณธรรม ผู้บริหารองค์กรธุรกิจจะต้องยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม สํานึกในหน้าที่ ของตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต
3. หลักความโปร่งใส ผู้บริหารองค์กรธุรกิจจะต้องมีความโปร่งใสในการประกอบธุรกิจ มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา
4. หลักการมีส่วนร่วม ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการบริหาร
5. หลักความรับผิดชอบ ผู้บริหารองค์กรธุรกิจต้องตระหนักถึงสิทธิ หน้าที่ ความสํานึก ในความรับผิดชอบต่อสังคม
6. หลักความคุ้มค่า ผู้บริหารองค์กรธุรกิจจะต้องมีการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างจํากัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
1. ความมุ่งมั่น ความมุ่งมันในการทําธุรกิจ ถือว่าเป็นสิ่งสําคัญที่สามารถเป็นแรงผลักดันใน การทําธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดก็ตาม
2. คุณภาพของสินค้า/บริการต้องดี โดยคุณภาพของสินค้าหรือบริการที่ดีในที่นี้ หมายถึง คุณภาพที่สามารถรักษามาตรฐานให้ดีได้ตลอด
3. ใส่ใจที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ตลอดเวลา การทําธุรกิจให้ประสบความสําเร็จนั้นสิ่งหนึ่งที่ ผู้ประกอบการพึงมีคือ การใส่ใจที่เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา
4. การบริหารจัดการด้วยความเข้าใจ โดยการทําธุรกิจนั้นยังมีพนักงาน ผู้บริหาร และคนอื่น ๆ ที่อยู่ภายในธุรกิจนั้น ทั้งนี้การบริหารงานควรมีความเข้าใจกัน มองเป้าหมายให้ไปในทิศทางเดียวกัน และไปให้ถึงเป้าหมาย