บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชา ง23102 การงานอาชีพ 6
เรื่อง การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
เรื่อง การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
ทำเลที่ตั้งเป็นสถานที่ที่จะใช้เป็นแหล่งผลิตหรือจำหน่ายสินค้าหรือบริการของสถานประกอบการ ซึ่งในการเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมจะทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวได้ ดังนั้น การเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับธุรกิจขนาดย่อม จึงเป็นการตัดสินใจที่มีความสำคัญ ในการที่จะทำธุรกิจนั้นเข้าถึงลูกค้าได้โดยง่าย รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ที่ควรนำมาพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสม
1.อธิบายความหมายและหลักเกณฑ์ในการเลือกทําเลที่ตั้งได้ (K)
2.บอกปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกทําเลที่ตั้งได้ (K)
3.บอกรูปแบบทําเลที่ตั้งของธุรกิจขนาดย่อมได้ (K)
4.วิเคราะห์และเลือกทําเลที่ตั้งของธุรกิจขนาดย่อมได้ (P)
1. ศูนย์กลางธุรกิจ (Central Business Districts = CBD) จะมีลักษณะของทําเลที่ตั้งของ ร้านค้าปลีกและที่อยู่อาศัยอยู่ในที่เก่าแก่ของเมืองน ข้อดีของทําเลที่ตั้ง ประเภทนี้ได้แก่ ความยืดหยุ่นด้านราคาและบริการ สามารถต่อรองราคาได้ แต่ยังมีข้อจํากัดเรื่องไม่มีที่ จอดรถให้ลูกค้า
2. ศูนย์การค้า (Shopping Center) เป็นความต้องการความสะดวกสบายสําหรับการซื้อสินค้า ของลูกค้าที่อาศัยอยู่ชานเมือง มีที่จอดรถสะดวก มีสินค้าและบริการอย่างครบถ้วน
3. ธุรกิจตั้งขึ้นมาเองโดยลําพัง (Stand-Alone Location) เป็นการแยกทําเลที่ตั้งออกมาต่างหาก จากร้านค้าปลีกอื่นๆ หรือร้านค้าส่งต่างๆ
4. ธุรกิจบริการ (Service Location) การเลือกทําเลที่ตั้งสําหรับการบริการมีความสําคัญมาก เพราะต้องสามารถทําให้ลูกค้ามาใช้บริการได้ และเห็นประโยชน์คุณค่าอย่างชัดเจน ธุรกิจมักจะมองไม่ เห็นข้อแตกต่างในการบริการกับร้านค้าประเภทเดียวกัน
การประกอบธุรกิจขนาดย่อมทุกประเภทจําเป็นต้องมีสถานประกอบการที่แน่นอนเพื่อใช้ใน การดําเนินงาน ทําเลที่ตั้งของธุรกิจนับว่ามีส่วนช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจขนาดย่อมแต่ละประเภทประสบ ความสําเร็จหรือล้มเหลวได้
1. ธุรกิจการผลิต ผู้ประกอบการธุรกิจการผลิตต้องใช้ความระมัดระวังในการเลือกทําเลที่ตั้งอย่างมาก โดยคํานึงถึงค่าใช้จ่าย ขนาดพื้นที่กิจการ ความสัมพันธ์กับลูกค้า ชุมชนใกล้เคียง การคมนาคมสะดวก เป็นต้น ปัจจัยในการพิจารณาเลือกทําเลที่ตั้งที่สําคัญมีดังนี้
2. ธุรกิจเหมืองแร่ ผู้ประกอบการธุรกิจเหมืองแร่ต้องศึกษาทําเลที่ตั้งนั้นว่ามีแร่ทรัพยากรธรรมชาติ คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ และต้องดําเนินการขอสัมปทานจากกรมทรัพยากรธรณี จึงจะเข้าไปขุดค้นหา แร่ธาตุต่างๆ ได้
3. ธุรกิจค้าส่ง ผู้ประกอบการซึ่งมีลูกค้าส่วนมากเป็นร้านค้าปลีก และมีการซื้อขายสินค้าครั้งละ จํานวนมาก จึงไม่จําเป็นต้องเน้นการตั้งร้านค้าให้ใกล้ชิดกับผู้บริโภคคนสุดท้าย
4. ธุรกิจค้าปลีก การเลือกทําเลที่ตั้งของธุรกิจค้าปลีกจําเป็นต้องคํานึงถึงย่านชุมชนหนาแน่น มากที่สุด
5. ธุรกิจบริการ การเลือกทําเลที่ตั้งของธุรกิจขนาดย่อมประเภทบริการจะมีลักษณะคล้ายกับ ธุรกิจค้าปลีก ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของการบริการนั้น ๆ โดยคํานึงถึงความสะดวกสบายในการเข้า มารับบริการของลูกค้ามากที่สุด
เมื่อวางแผนการผลิตจําเป็นต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 กําหนดปัจจัยหลักสําคัญในการเลือกทําเลที่ตั้ง
ขั้นที่ 2 การพิจารณาเพื่อหาทางเลือกของทําเลที่ตั้ง ที่สามารถบรรลุผลที่น่าพึงพอใจสอดคล้อง กับปัจจัยหลักสําคัญ
ขั้นที่ 3 การประเมินค่าของแต่ละทางเลือก เพื่อสรุปผลที่ได้รับในการตัดสินใจว่าจะเลือกทําเลที่ตั้ง ซึ่งการตัดสินใจนี้เป็นสิ่งที่ทําได้ยาก